วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

องค์ประกอบและการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบและการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ จะทำงานได้ต้องประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกันคือ 
1. หน่วยรับเข้า (Input Unit)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
4. หน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit)
5. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยรับเข้า (Input Unit)
ทำหน้าที่รับข้อมูลคำสั่งจากผู้ใช้ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประมวลผล ข้อมูลที่รับเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์มีหลากหลาย เช่น ตัวอักษร, ตัวเลข, รูปภาพ, เสียง เป็นต้น โดยผ่านอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลรูปแบบต่างๆ เมาส์, คีย์บอร์ด, เครื่องอ่านพิกัด, เครื่องอ่านรหัสแท่ง, เครื่องสแกน, กล้องดิจิทัล, ไมโครโฟน
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
ทำหน้าที่ประมวลผล คำนวณ และควบคุมการทำงานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์
CPU
1. หน่วยควบคุม (Control Unit : CU)
ทำหน้าที่อ่านคำสั่ง สั่งงาน และควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
2. หน่วยคำนวณตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit : ALU)
ทำหน้าที่คำนวณด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร การเปรียบเทียบข้อมูลมากกว่า น้อยกว่า เป็นต้น
หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลก่อนนำไปประมวลผล เก็บคำสั่งโปรแกรมขณะใช้งาน และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำไปแสดงผล หน่วยความจำหลักแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory : ROM)
เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ได้บรรจุชิปหน่วยความจำแบบติดตั้งถาวร หรือไบออส (Basic Input Output System : BIOS) ไว้บนแผงวงจรหลักเรียบร้อยแล้ว โดยข้อมูลที่บรรจุลงไปในหน่วยความจำจะยังคงอยู่แม้จะปิดเครื่องไปแล้ว แต่ไม่สามารถบรรจุข้อมูลเพิ่มเติมลงไปได้
ROM

2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory : RAM)
เป็นหน่วยความจำที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง มีหน้าที่จดจำคำสั่งที่เป็นโปรแกรมและข้อมูลที่จะทำการประมวลผล หากเกิดไฟฟ้าดับหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลที่อยู่ภายในจะหายไปทั้งหมด
RAM

หน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit)
เป็นหน่วยความจำที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไป ไม่มีทางสูญหายหลังจากเปิดเรื่องคอมพิวเตอร์แล้ว
Secondary Memory Unit

หน่วยส่งออก (Output Unit)
เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ออกมาให้ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ได้ตามต้องการ ซึ่งการส่งออกเป็นผลัพธ์สามาถส่งออกได้หลายรูปแบบ เช่น ภาพ, เอกสาร, เสียง และอุปกรณ์ที่สามารถแสดงผลลัพธ์ก็มีหลายนิด เช่น ลำโพง, จอมอนิเตอร์, เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์, เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
Output Unit

2. หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์เริ่มต้นจากผู้ใช้งานป้อนข้อมูล หรือคำสั่งผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล (Input Unit) ไปประมวลผล (Central Processing Unit) เพื่อประมวลผลตามข้อมูลหรือคำสั่งที่ได้รับ อาจมีการเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เพื่อการประมวลผล แล้วแสดงผลลัพธ์ผ่านทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Unit) ชนิดต่างๆ หากผู้ใช้ต้องการการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ ก็จะทำการบันทึกข้อมูลลงหน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit) ชนิดต่างๆ ต่อไป


การแทนที่ข้อมูลในคอมพิวเตอร์
ข้อมูลต่างๆ ที่เก็บภายในเครื่องคอมพิวเตอร์จะเก็บอยู่ในรูปแบบเลขฐาน 2 คือ 0 และ 1 ไม่ใช่อย่างที่เราเห็น ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ เพลง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ  โดยข้อมูลเลขฐาน 2 ที่ถูกเก็บไว้ เมื่อมีการเรียกใช้งานคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลตัวเลขฐาน 2 ของข้อมูลนั้นๆ แล้วแสดงผลออกมาให้เราได้รับรู้ เช่น รูปภาพ เพลง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ


1. บิต (bit) เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของการเก็บข้อมูล เลขฐาน 2 คือ 0 และ 1 จำนวน 1 ตัว จะเรียกว่า 1 บิต เช่น 1001 จะเรียกว่า 4 บิต หากเปรียบเสมือนหลอดไฟ 0 หมายถึงปิดไฟ, 1 หมายถึงเปิดไฟ
เกิดจากเลขฐาน 2 จำนวน 8 ตัวเรียงกัน หรือ 8 บิต นั่นเอง เข้าใจง่ายๆ คือ 8 บิต = 1 ไบต์ เช่น 10011001 แบบนี้เรียกว่า 1 ไบต์ ซึ่งตัวเลขจำนวน 8 หลักนี้ จะได้ค่าที่แตกต่างกันถึง 256 ค่า 1 ไบต์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ออกเทต (octet) แต่ถ้า 4 บิต จะมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า นิบเบิล (nibble)


2. ไบต์ (byte)



3. รหัสเอ็บซีดิก (Extended Binary Coded Decimal Interchange Code : EBCDIC)
เป็นรหัสที่พัฒนาโดยบริษัท IBM เพื่อใช้กับรบบปฏิบัติการขนาดใหญ่ เช่น OS-390 สำหรับเครื่องแม่ข่าย S/390 ถูกนำมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของ IBM ทั้งหมด รหัสเอ็บซีดิก มีขนาด 8 บิต แทนรหัสอักขระได้ 256 ตัว ปัจจุบันรหัสเอ็บซีดิกไม่เป็นที่นิยมและกำลังจะเลิกใช้งาน
เครื่องคอมพิวเตอร์ของ IBM


การเรียงลำดับบิตของรหัสเอ็บซีดิก

เป็นรหัสมาตรฐานที่กำหนดโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI) เป็นรหัสที่นิยมใช้งานกันมากที่สุดบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เริ่มมีการใช้งานครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1967 รหัสแอสกี แต่เดิมประกอบด้วยรหัส 7 บิต เพื่อแทนอักขระทั้งหมด 128 ตัว ในปี ค.ศ. 1986 ได้ทำการปรับปรุงใหม่ให้เป็นรหัส 8 บิต โดยเพิ่มเข้ามาอีก 1 บิต เพื่อใช้ในการตรวสสอบความถูกต้อง เรียกบิตสุดท้ายนี้ว่า พาริตี้บิต (Parity bit)

5. ยูนิโค้ด (Unicode)
เป็นรหัสที่ถูกพัฒนามาในปี พ.ศ.2534 และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยูนิโค้ดช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผล และจัดการข้อความตัวอักษรที่ใช้ระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ทั่วโลก ยูนิโค้ดเป็นเลขฐาน 2 ตั้งแต่ 1 ถึง 4 ไบต์ ทำให้สามารถรองรับการเก็บข้อมูลอักขระได้กว่า 100,000 ตัว

ตัวอย่างตาราง Unicode

การประมวลผลของซีพียู
การประมวลผลของ CPU


1. การรับเข้าข้อมูล (Fetch) รับรหัสคำสั่งและข้อมูล จากหน่วยความจำ
2. การถอดรหัส (Decode) ทำการถอดรหัสคำสั่งได้รับ และส่งต่อไปยังส่วนคำนวณและตรรกะ
3. การทำงาน (Execute) ทำการคำนวณข้อมูลที่ถอดรหัสแล้ว และสั่งให้ CPU ทำงานตามคำสั่ง
4. การเก็บข้อมูล (Store)  ทำการเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลัก

การรับส่งข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์
แผงวงจรหลัก หรือเมนบอร์ด (Motherboard/Mainboard)
เปรียบเสมือนศูนย์กลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะอุปกรณ์ทุกอย่าง จะต้องทำการเชื่อมต่อกับแผงวงจรหลักนี้


บัส (Bus)
หมายถึง ช่องทางการติดต่อสื่อสารข้อมูลของอุปกร์ต่างๆ บัสในหน่วยประมวลผลกลางประกอบไปด้วย
1. บัสข้อมูล (Data Bus) เป็นบัสที่หน่วยประมวลผลกลาง ใช้เป็นเส้นทางในการควบคุมและ การขนส่งข้อมูล ระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง และอุปกรณ์ภายนอก
2. บัสรองรับข้อมูล (Address Bus) เป็นบัสที่หน่วยประมวลผลกลาง เลือกว่าจะส่งข้อมูลหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ใด โดยจะส่งสัญญาณมาที่บัสรองรับข้อมูลนี้
3. บัสควบคุม (Control Bus) เป็นบัสที่รับสัญญาณการควบคุมจากหน่วยประมวลผลกลาง เพื่อบังคับว่าจะอ่านข้อมูลเข้า หรือจะส่งข้อมูลออก

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ปัญหาขยะ


                                            ปัญหาขยะ

ปัญหาจากขยะ

          ขยะมูลฝอยนั้น นับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร ถ้าหากไม่มีการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ปัญหาความสกปรกต่างๆ ที่เกิดจากขยะมูลฝอย จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้ามองกันอย่างผิวเผินแล้ว 
ขยะมูลฝอยนั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อมนุษย์มากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อมนุษย์ ยังอยู่ในขั้นที่ไม่รุนแรงมากนัก ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจนเท่าไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว ขยะมูลฝอยจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมากและจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย 
ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้เนื่องจาก           
           1. ขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรค เช่น แมลงวันแมลงสาบ ยุง ฯลฯ และเป็นที่ซุกซ่อนของหนูและสัตว์อื่น ๆ
           2. ขยะมูลฝอย ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ
           3. ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้น ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นสกปรก ขาดความสวยงาม เป็นที่รังเกียจแก่ผู้พบเห็น และผู้ที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ ขยะมูลฝอยที่ตกอยู่หรือถูกทิ้งลงในคูคลอง หรือทางระบายน้ำ จะไปสกัดกั้นการไหลของน้ำ ทำให้แหล่งน้ำสกปรกและเกิดการเน่าเสีย           


           4. น้ำเสียที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก ซึ่งมีทั้งสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ เชื้อโรค และสารพิษต่าง ๆ เจือปนอยู่ เมื่อน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลไปตามพื้นดินบริเวณใด ก็จะทำให้บริเวณนั้นเกิดความสกปรก และความเสื่อมโทรมของพื้นดินและอาจเปลี่ยนสภาพ ทำให้ดินมีคุณสมบัติเป็นดินด่างหรือดินกรดได้ ในกรณีที่น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลลงสู่แหล่งน้ำก็จะทำให้คุณภาพน้ำเสียไป ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำผิวดินหรือแหล่งน้ำใต้ดินก็ตาม ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้ใช้น้ำและสิ่งที่มีชีวิตที่อาศัยในแหล่งน้ำ น้ำที่สกปรกมากหรือมีสารพิษเจือปนอยู่ ก็อาจทำให้สัตว์น้ำตายในเวลาอันสั้น นอกจากนั้นสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่เจือปนในน้ำ ก็จะส่งผลต่อระบบนิเวศของน้ำทำให้สัตว์น้ำที่มีค่าบางชนิดสูญพันธุ์ไป นอกจากนี้น้ำที่มีสิ่งสกปรกเจือปนย่อมไม่เหมาะแก่การอุปโภคบริโภค  แม้จะนำไปปรับปรุงคุณภาพแล้วก็ตาม เช่น การทำระบบน้ำประปา ซึ่งก็ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมากขึ้น 
          5. ขยะมูลฝอยทำให้เกิดมลพิษแก่อากาศ ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ในเขตชุมชน หรือที่กองทิ้งไว้ในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มีการฝังกลบ หรือขณะที่ทำการเก็บขนโดยพาหนะ ที่ไม่มีการปกปิดอย่างมิดชิด ขยะมูลฝอยเหล่านั้นส่งกลิ่นเหม็นน่ารังเกียจออกมา เศษชิ้นส่วนของขยะมูลฝอยจะสามารถปลิวไปในอากาศ ทำให้เกิดความสกปรกแก่บรรยากาศ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์และความสกปรกให้กับบริเวณข้างเคียงได้นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้นาน ๆ จะมีก๊าซที่เกิดจากการหมักขึ้น ได้แก่ ก๊าซชีวภาพ ซึ่งติดไฟหรือเกิดระเบิดขึ้นได้ และก๊าซไข่เน่า (ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์) ซึ่งมีกลิ่นเหม็น 

ที่มา : http://www.chaiwbi.com/0drem/web_children/2551/ms201/c_camp51/600.html

หลักการทำงานประดิษฐ์


หลักการทำงานประดิษฐ์

หลักการทำงานประดิษฐ์

ในการทำงานประดิษฐ์เพื่อให้ได้ผลงานตามจุดหมายที่กำหนดไว้ ควรยึดหลักในการทำงานประดิษฐ์ดังต่อไปนี้

1. ศึกษารายละเอียดของงานที่จะนำมาประดิษฐ์ให้เข้าใจ ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบต่าง ๆ ของงานและเลือกทำสิ่งประดิษฐ์ให้เหมาะสมความรู้ ความสามารถของตนเอง และเป็นสิ่งที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
2. วางแผนการทำงาน กำหนดขั้นตอนการทำงานให้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา แรงงาน ค่าใช้จ่ายและออกแบบรายละเอียดวิธีการประดิษฐ์ไว้ให้ครบถ้วน เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน
3. การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำงานประดิษฐ์ไว้ให้ครบถ้วนและใช้ให้เหมาะสมกับการที่ออกแบบไว้ โดยทั่วไปการเลือกวัสดุมาใช้ในงานประดิษฐ์ นิยมเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น หรือวัสดุที่มีอยู่ภายในบ้านซึ่งหาง่าย มีราคาถูก
4. ลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ขณะที่ทำการประดิษฐ์ เมื่อเกิดปัญหาไม่ควรท้อถอย ควรปรึกษาครูหรือผู้ที่มีความสามารถ และควรพยายามตั้งใจปฏิบัติงานต่อไปจนกว่างานจะสำเร็จ

        การออกแบบงานประดิษฐ์

การออกแบบ หมายถึงการแสดงความคิด การวางแผน เพื่อกำหนดรูปแบบผลงานที่ต้องการก่อนทำงานประดิษฐ์ โดยการร่างภาพเขียนด้วยดินสอและไม้บรรทัดเท่านั้น การออกแบบมีความสำคัญมากเพราะผู้ออกแบบต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์การดัดแปลง แก้ผลงาน ให้มีรูปร่างแปลกใหม่ การออกแบบที่ดีจะช่วยให้การทำงานได้สะดวกรวดเร็วขึ้นผลงานสำเร็จตรงตามต้องการไม่มีผิดพลาด

หลักการออกแบบ

เมื่อจะออกแบบควรนำองค์ประกอบที่สำคัญของการออกแบบมาใช้โดยยึดหลักดังต่อไปนี้

1. ความสมดุล เกี่ยวข้องกับความรู้สึกในการมองเห็นทั้งด้านรูปทรง น้ำหนัก สี ความสมดุลเท่ากัน และความสมดุลที่ไม่เท่ากัน

2. สัดส่วนหมายถึงการได้ส่วนกันของสิ่งที่ออกแบบ เช่น การออกแบบดอกไม้ ส่วนประกอบดอกไม้ ใบ ก้าน ควรได้สัดส่วนดอกไม่ควรใหญ่เกินก้านและใบมากนัก   
3. ความกลมกลืน คือการออกแบบวัตถุให้มีรูปทรงที่ไปด้วยกันได้ สีก็ต้องกลมกลืนกันการใช้แสง และเงาที่ไปด้วยกันได้
4. ความแตกต่าง คือการใช้ส่วนประกอบของการออกแบบที่ไม่ซ้ำกัน ใช้สีที่ไม่เหมือนกัน        
5. การเน้นให้เกิดจุดเด่น คือการออกแบบที่ทำให้เกิดจุดเด่นสะดุดตา ทำให้น่าสนใจ น่าดู อาจเน้นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพียงอย่างเดียวก็ได้ เช่น สี เส้น รูปร่าง

งานประดิษฐ์


งานประดิษฐ์

1. ความสำคัญและประโยชน์ของงานประดิษฐ์

1. ฝึกให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างผลงานให้มีรูปร่างแปลกใหม่และพัฒนางานประดิษฐ์เดิมให้สามารถใช้ประโยชน์ขึ้น
2. งานประดิษฐ์ที่ใช้วัสดุต่าง ๆ ที่นำมาประกอบกันเป็นชิ้นงาน สามารถใช้วัสดุอื่นทดแทนกันได้ และสามารถนำวัสดุที่มีในท้องถิ่น มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
3. ฝึกให้รู้จักการวางแผนทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอนการปฏิบัติเป็นการสร้างระเบียบวินัยให้ตนเอง และมีนิสัยรักในงานประดิษฐ์
4. ให้นักเรียนรู้จักใช้และดูแลรักษาเครื่องมือในงานประดิษฐ์อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับประเภทของงานประดิษฐ์
5. ฝึกการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สามารถทำงานได้อย่างมีสมาธิและมีความสุข ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานประดิษฐ์ของตนเอง
6. ฝึกให้นักเรียนรู้จักประหยัด สามารถนำสิ่งของที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนมากนัก
7. เป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้มีการสืบทอดและพัฒนาต่อไปจากภูมิปัญญาเดิมสู่การเรียนรู้ที่มากขึ้นและเป็นผลงานของคนไทย
8. สามารถเพิ่มพูนรายได้ให้กับผู้ประดิษฐ์ โดยการนำออกไปจำหน่ายในโอกาสต่าง ๆและสร้างเป็นอาชีพได้ในอนาคต
9. เกิดความภาคภูมิใจในชิ้นงานของตนเอง ทำให้ผู้อื่นยอมในความสามารถของตนเองในระดับหนึ่ง


2. ลักษณะของงานประดิษฐ์ สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

1. งานประดิษฐ์ทั่วไป
เป็นงานประดิษฐ์ที่ไม่มีความเป็นมาจากบรรพบุรุษหรือท้องถิ่น กล่าวคือเป็นงานประดิษฐ์ที่บุคคลทั่วไป สามารถเรียนรู้และนำไปประดิษฐ์ได้โดยอาศัยการศึกษาจากตำรา เช่นดอกไม้จากเศษวัสดุเหลือใช้ หมวก ตุ๊กตา เครื่องใช้ต่าง ๆ

2. งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย
เป็นงานประดิษฐ์ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหรืองานประดิษฐ์ที่มีเฉพาะในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยส่วนมากจะเป็นการสืบทอดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวมาสู่ลูกหลานงานประดิษฐ์หลายอย่างทำขึ้นเพื่องานประเพณีทางเช่น พานพุ่ม มาลัย เครื่องแขวนบายศรี และบางอย่างก็ทำขึ้นเพื่อความสวยงาม สนุกสนาน ภายในครอบครัว เช่นว่าวไทย รถลาก ตุ๊กตา


3. ประเภทของงานประดิษฐ์ตามโอกาสใช้สอย

งานประดิษฐ์ต่าง ๆ เราสามารถเลือกชิ้นงานประดิษฐ์ได้ตามประโยชน์ หรือความต้องการใช้สอยในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของงานประดิษฐ์ตามโอกาสใช้สอยดังนี้

1. ประเภทงานประดิษฐ์เครื่องเล่น งานประดิษฐ์เครื่องเล่นส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนรู้และฝึกฝนจากผู้ใหญ่มาสู่ลูกหลานในบ้าน และมีการแพร่กระจายจากเพื่อนมาสู่เพื่อน เช่นการประดิษฐ์ตุ๊กตา ว่าว และรถลาก
2. ประเภทเครื่องใช้ งานประดิษฐ์เครื่องใช้เป็นชิ้นงานที่ทำขึ้นเพื่อความสะดวกสบายและเป็นเครื่องทุ่นแรงในการดำเนินชีวิต หรือประกอบอาชีพในชีวิตประจำวัน เช่นเสื้อผ้า แจกัน หมวก ตะกร้า กระจาดและเข่ง
3. ประเภทเครื่องตกแต่ง งานประดิษฐ์ตกแต่ง ทำขึ้นเพื่อความสวยงามและเป็นสิ่งประดิษฐ์ใช้กับบ้านเรือน นอกจากนี้บางชิ้นงานสามารถนำมาใช้ในด้านการใช้สอยได้ เช่นกรอบรูป โคมไฟ ภาพวาด งานแกะสลัก
4. ประเภทเครื่องใช้ในพิธี ทำขึ้นเพื่อใช้ในพิธีทางศาสนา ในช่วงโอกาสต่าง ๆ และงานประเพณีสำคัญ เช่นงานลอยกระทง งานวันเข้าพรรษา ออกพรรษา งานศพ งานประดิษฐ์เครื่องใช้ เช่น พานพุ่ม มาลัย บายศรี การจัดดอกไม้ในงานศพ

ที่มา : https://sites.google.com/site/sangwang23/widixo-kar-tha-sing-pradisth-cak-khxng-helux-chi/prayochn/khwam-sakhay-khxng-ngan-pradisth

การตัดเสียงออกจากวีดีโอ

การตัดเสียงออกจากวีดีโอ
ต้องการตัดเสียงออกจากวีดีโอ  แล้วแทรกเสียงใหม่เข้าไปในวีดีโอนั้น ๆ จากเสียงอึกทึกครึกโครมก็อยากได้เพลงเพราะ ๆ คิดค้นหาวิธีสักครู่ใหญ่ ๆ ค้นหาโปรแกรมที่ช่วยในการตัดต่อวีดีโอเข้ามาช่วย และแล้วก็เจอวิธีการในการตัดเสียงออกจากวีดีโอเข้าให้แล้วซิ  ตัวช่วยคือโปรแกรม  Windows Live movie maker  นี่เอง ตามมาดูวิธีการกัน
ตัดเสียงออกจากวีดีโอ
                            รุปที่ 1   การเพิ่มวีดีโอและรุปถ่ายใน windows live movie maker
1. เปิดโปรแกรม Windows  Live movie maker ขึ้นมา คลิีกเพิ่มวีดีโอที่ต้องการตัดเสียงออก ที่เมนู เพิ่มวีดีโอและรูปถ่าย
ตัดเสียงออกจากวีดีโอ  windows live movie maker
                         รุปที่ 2 เพิ่มวีดีโอใน windows live movie maker
2. ต่อจากนั้น หน้าต่างเพิ่มวีดีโอและรุปถ่ายจะปรากฏขึ้นให้เลือกวีดีโอที่ต้องการตัดเสียงเพลงออก แล้วคลิีกเปิด
การตัดเสียงออกจากคลิปวีดีโอ
              รุปที่ 3 ลดระดับเสียงใน วีดีโอด้วย windows live movie maker
3. วีดีโอที่เราเพิ่มจะปรากฏขึ้นในหน้าต่างการทำงานของโปรแกรม  Windows live movie maker เพื่อทำการตัดเสียงออก  คลิ๊กที่เมนูแก้ไข ที่อยู่ด้านบน  ต่อจากนั้นคลิีกที่ ระดับเสียงวีดีโอ  เลื่อนแถบระดับเสียง ให้ต่ำสุดดังรูปที่  3
ตัด audio ออกจากวีดีโอ
               รุปที่  4 การบันทึกวีดีโอที่ลดระดับเสียงเรียบร้อยแล้ว
4. หากทดลองคลิ๊ก play เพื่อเล่นวีดีโอ ตอนนี้จะไม่มีเสียง เพราะเราลดระดับเสียงแล้วค่ะ หลังจากนี้ให้บันทึกวีดีโอที่ได้  โดยคลิ๊กที่ เมนูสามเหลี่ยมหัวกลับด้านบนสุด  > บันทึกภาพยนต์> เหมาะสำหรับโครงการนี้
ตัด audio ออกจาก ;วีดีโอ

                                  รุปที่ 5 เลือกโฟลเดอร์สำหรับจัดเก็บ video
5 เลือกโฟลเดอร์สำหรับเก็บไฟล์วีดีโอที่ไม่มีเสียง  แล้วคลิ๊ก บันทึก
ตัดเสียงออกจาก video

                        รุปที่ 6  สถานะการบันทึกวีดีโอใน windows live movie maker
6. รอให้ windows live movie maker บันทึกไฟล์ภาพยนต์เสร็จ ก็จะได้วีดีโอที่ตัดเสียงออกเรียบร้อยแล้ว
ที่มา : http://www.tipfornet.com/2012/12/windows-live-movie-maker.html

การสร้างผลงานด้วยวิดีโอ

     การสร้างวิดีโอด้วยตนเองการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วยวิดีโอสามารถทำได้ง่ายหากทุกคนสามารถเรียนรู้และเข้าใจการสอนใช้โปรแกรมการสร้างผลงานในรูปแบบวิดีโอ เช่น วิดีโอสอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิดีโอการสอนสำหรับครู วิดีโอนำเสนอผลงาน Presentation วิดีโอWedding วิดีโอหนังสั้นภาพยนตร์ ซึ่งโปรแกรมที่สามารถใช้สร้างวิดีโอในปัจจุบันมีความหลากหลายให้ผู้ใช้งานเลือกใช้เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของตนเอง ซึ่งการสร้างงานด้วยวิดีโอมีหลากหลายประเภท เราสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมและความต้องการที่จะให้ผลงานที่สร้างด้วยวิดีโอออกมาในรูปแบบลักษณะใด 
การสร้างงานวิดีโอ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.การสร้างงานวิดีโอจากการบันทึก ภาพเหตุการณ์ แสง สี เสียง จากสถานที่จริง ซึ่งอุปกรณืที่ใช้ทำการบันทึกวิดีโอประเภทนี้ คือ กล้องวิดีโอ แล้วสามารถนำมาตัดต่อภาพและเสียง ด้วยโปแกรมสร้างงานวิดีโอ เพื่อให้วิดีที่บันทึกมีความสมบรูณ์ ไร้ความผิดพลาดขณะทำการถ่ายทำ โปรแกรมที่นิยมใช้สำหรับงานประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรม Ulead Video Studio โปรแกรม Adobe Premiere Pro CS โปรแกรม Sony Vegus
2.การสร้างงานวิดีโอจากการบันทึกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นการสร้างงานวิดีโอประเภทสื่อการสอนมัลติมีเดีย ใช้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI การสร้างงานวิดีโอชนิดนี้จะมีลักษณะการทำงานโดยการบันทึกภาพและเสียงขณะทำการสอนบรรยายผ่านทางจอภาพคอมพิวเตอร์ เช่นการสอนใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Step by Step การสอนโดยนำเสนอทาง Powerpoint โปรแกรมที่นิยมใช้ได้แก่ hypercam , camtasia เป็นต้น  การใช้งานลักษณะนี้เหมาะสำหรับการทำบทเรียน การสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หากเป็นการผลิตวิดีโอสอนใช้งานโปรแกรมใดๆ ก็สามารถต่อไมโครโฟน เปิดโปรแกรมจับภาพเป็นวิดีโอ และโปรแกรมที่ต้องการสอน แล้วทำการบันทึกวิดีโอได้ทันที
การสร้างวิดีโอด้วยการจับภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีคำแนะนำดังนี้
1. การอธิบายแต่ละส่วน ให้ทิ้งระยะห่าง ให้ผู้เรียนได้มีเวลาหยุดพัก และทำความเข้าใจกับสิ่งที่เรานำเสนอในวิดีโอ
2. การเลื่อนเมาส์ ต้องเคลื่อนช้าๆ และเป็นเส้นตรง หรือเคลื่อนในแนวเฉียง ห้ามลากเมาส์สะบัดไปมา คนดูอาจรำคาญได้
3. การใช้เพลงบรรเลงประกอบ ขณะบันทึกเสียงจะช่วยให้วิดีโอดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
กรณีที่เป็นเรื่องราวที่ไม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อาจจะเตรียมสิ่งที่ต้องการสอนหรือนำเสนอ ทำเป็นไฟล์งานนำเสนอด้วย PowerPoint แล้วใช้โปรแกรมประเภทนี้จับภาพอีกทีก็ได้ เพราะเราสามารถพูดบรรยายไปตามหัวข้อที่จัดเรียงไว้ได้ตามต้องการ
โปรแกรมที่ใช้บันทึกวิดีโอจากหน้าจอคอมพิวเตอร์
ลักษณะของไฟล์วิดีโอที่ได้จากการบันทึกจากกล้องวิดีโอ และการบันทึกผ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์มีการทำงานที่ต่างกัน โดยปกติแล้วหากเป็นการบันทึกวิดีโอจากเหตุการณ์ปัจจุบัน เราจะใช้กล้องวิดีโอในการบันทึก หรือใช้โทรศัพท์มือถือในการบันทึกคลิปวิดีโอขนาดสั้น สำหรับการบันทึกวิดีโอผ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยการทำงานลักษณะแบบนี้เป็นการบันทึกวิดีโอจากโทรทัศน์โดยการแปลงสัญญาณโทรทัศน์เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วทำการบันทึกโดยใช้โปรแกรมช่วยในการบันทึกวิดีโอ โปรแกรมที่นิยมใช้ได้แก่ โปรแกรม Ulead Video Studio 11  หรือจะเป็นการบันทึกไฟล์วิดีโอสดขณะทำการบรรยายผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้บันทึกวิดีโอลักษณะนี้คือ โปรแกรม Camtasia Studio  เป็นต้น
การใช้โปรแกรมตัดต่อวิดีโอเพื่อให้ผลงานจากวิดีโอ มีความสมบรูณ์ โดยมีภาพและเสียงที่ชัดเจน การใช้งานของโปรแกรมประเภทการตัดต่อภาพวิดีโอ ใช้เพื่อแก้ไขลักษณะของงานวิดีโอที่บกพร่อง โดยการตัดส่วนที่เสียหายออก เพื่อให้ไฟล์วิดีโอที่จะนำไปใช้งานมีความสมบรูณ์ไร้ข้อผิดพลาดจากการบันทึกวิดีโอ ซึ่งแน่นอนว่าการบันทึกวิดีโอสดย่อมเกิดเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ที่ทุกคนไม่คาดคิด ดังนั้นการจะทำให้วิดีโอออกมาสมบรูณ์ไร้ข้อผิดพลาด จำเป็นต้องใช้โปรแกรมช่วยในการตัดต่อวิดีโอ ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้ได้แก่ Ulead video studio , Sony Vegas Adobe , Premiere Pro CS เป็นต้น เมื่อเราทำการตัดต่อวิดีโอได้สมบรูณ์แล้ว เรายังสามารถจัดเก็บไฟล์ในรูปแบบต่างๆได้ เช่น AVI , MPEG , WMV ฯลฯ ตามความพอใจของผู้ใช้งาน
การใช้โปรแกรมแปลงไฟล์วิดีโอ
โปรแกรมแปลงไฟล์วิดีโอ หรือโปรแกรมที่เปลี่ยนสกุลไฟล์ต้นฉบับให้สามารถเป็นสกุลไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ต้องการ เช่น MPEG , MOV , WMV , MP4 , AVI ซึ่งไฟล์สกุลเหล่านี้ เป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหว หรือเป็นกลุ่มของสกุลไฟล์วิดีโอ สาเหตุที่มีสกุลไฟล์ที่ต่างกันเพราะ ไฟล์วิดีโอต่างๆจะมีคุณภาพ หรือความละเอียดของภาพวิดีโอที่ต่างกัน อีกทั้งเพื่อให้สะดวกในการเลือกใช้ให้เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้เปิดไฟล์ เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นวิดีโอ เป็นต้น โปรแกรมแปลงไฟล์วิดีโอที่ผู้เขียนแนะนำ คือ โปรแกรม Ulead Video Studio 11 เพราะมีไฟล์ Format ให้เลือกใช้หลายไฟล์  ได้แก่  MPEG , MOV , WMV , MP4 , AVI , MP3 , WAV , 3gp ,และอื่นๆเป็นต้น
โปรแกรมสำหรับดูวิดีโอ
ปัจจุบันมีโปรแกรมมากมายที่สามารถเปิดดูไฟล์ประเภทวิดีโอได้ แต่โปรแกรมพื้นฐานที่สามารถดูไฟล์วิดีโอได้ และเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีอยู่แล้วคือโปรแกรม  Windows Media  Player  นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมอื่นๆที่หน้าสนใจ เช่น KMPlayer , Media Player Classic , GOM Player , CyberLink PowerDVD , Winamp  ฯลฯ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับสร้างวิดีโอ
การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการสร้างวิดีโอ ควรเลือกเครื่องที่เสป็คต้องแรง ซีพียูความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ความจุสูง เพราะการจัดการกับไฟล์วิดีโอที่มีขนาดใหญ่ หากใช้เครื่องที่เสป็คต่ำ การตัดต่อวิดีโอจะช้ามาก การเลือกคอมพิวเตอร์ที่เป็นโน้ตบุ๊คก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ต้องพิจารณาเสป็คเครื่องเช่นกัน ความเร็วซีพียู แรม ความจุของฮาร์ดดิสก์ต้องสูงๆ สิ่งสำคัญมากๆ อย่างหนึ่งก็คือการ์ดเสียง เมื่ออัดเสียงต้องไม่มีเสียงรบกวน หรือมีน้อยที่สุุด ไม่เช่นนั้นก็ต้องซื้อหามิกเซอร์มาใช้งาน ภาพคอมพิวเตอร์สำหรับสร้างวิดีโอ ไมโครโฟนและมิกเซอร์ขนาดเล็กก็เพียงพอแล้ว กล้องดิจิตอล กล้องถ่ายวิดีโอ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้เช่นกัน การเลือกซื้อแนะนำให้เลือกรุ่นที่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว และการถ่ายวิดีโอนั้น ต้องพยายามให้มือนิ่งที่สุดการเคลื่อนไหว ต้องเป็นเส้นตรง เพื่อไม่ให้ภาพสั่นเวลาถ่ายภาพอุปกรณ์สำคัญๆ สำหรับสร้างวิดีโอช่วยสอน เช่น คอมพิวเตอร์ พร้อมโปรแกรมสำหรับสร้างวิดีโอ มีไมโครโฟน กล้องดิจิตอล กล้องถ่ายวิดีโอ เป็นต้น
 

ที่มา : http://www.vdolearning.com/vdotutor/video-knowledge/90-create-presentation-with-video

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ความรู้เรื่องกล้องวิดีโอ

กล้องวีดีโอคืออะไร
     กล้องวีดีโอ   เป็นเครื่องมือหลักในการทำสื่อโทรทัศน์ คุณภาพและราคารวมทั้งลูกเล่นต่างๆก็จะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและจุดขายที่แต่ ละค่ายออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานที่แตกต่างกันออกไป แต่หลักๆแล้วที่เหมือนกันคือเพื่อบันทึกภาพ และกล้องวีดีโอที่เรียกว่า "โฮมยูส" หรือแบบ "แฮนดี้แคม" จะเหมาะสำหรับผู้เริ่มใช้ การควบคุมและการสั่งการต่างๆจะออกแบบมาให้ใช้ง่าย ไม่ซับซ้อน 
     การใช้กล้องวิดีโอ ในปัจจุบันนิยมใช้กล้องวิดีโอแบบดิจิตอล เนื่องจากกล้องประเภทนี้มีความคมชัด และมีความละเอียดของภาพสูง จึงมีลักษณะใกล้เคียงความจริงสามารถเขียนบันทึกลงแผ่น CD หรือ DVD ได้ทันที กล้องวิดีโอดิจิตอลได้พัฒนามาถึงระบบบันทึกด้วยฮาร์ดดิสก์(Hard Disk Camcorder)  มีขนาดเล็กกะทัดรัด มีความจุสูงสามารถบันทึกวิดีโอได้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน และสามารถเลือกโหมด Ultra ที่ให้คุณภาพสูงสุดระดับ DVD

ประเภทของกล้องวิดีโอ
1.กล้องถ่ายวีดีโอแบบอนาล็อก  คือ กล้องที่บันทึกข้อมูลแบบความถี่ของสัญญาณ มีลักษณะคล้ายเส้นกราฟ ขึ้นและลง  มีรูปแบบของการบันทึกข้อมูลลงเทป
2.กล้องถ่ายวีดีโอแบบดิจิตอล  มี 3 รูปแบบได้แก่
2.1 กล้องถ่ายวีดีโอระบบ VHS    เป็นกล้องวิดีโอทีมีการบันทึกในรูปแบบม้วนเทป
2.2 กล้องถ่ายวีดีโอระบบ 8 mm  เป็นกล้องวิดีโอทีมีการบันทึกในรูปแบบม้วนเทปขนาด 8 mm
2.3 กล้องถ่ายวีดีโอระบบ Hi     เป็นกล้องวิดีโอทีมีการบันทึกในรูปแบบ ม้วนเทป ระบบ Hi8 คล้ายกับระบบ 8 mm แต่คุณภาพสูงกว่า
การใช้งานกล้องวิดีโอเพื่อให้เกิดประโยชน์
การเลือกใช้งานกล้องวิดีโอต้องเลือกใช้งานให้ตรงตามความถนัด และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ใช้เช่น การใช้กล้องวิดีโอเพื่อการทำสารคดี  การบันทึกวิดีโองานเลี้ยงสังสรรค์งานประเพณี เป็นต้น
ข้อมูลพื้นฐาน ที่ใช้ในการตัดสินใจ เลือกใช้กล้องวิดีโอ 
ก่อนการเลือกซื้อกล้องวิดีโอ เราควรศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับกล้องวิโอ เพื่อให้สามารถเลือกซื้อกล้องวิดีโอได้อย่างสมบรูณ์แบบ และคุ้มค่ากับทุนที่ซื้อมากที่สุดเพราะ กล้องวีดีโอเป็นเครื่องมือหลักในการทำสื่อโทรทัศน์ คุณภาพและราคารวมทั้งลูกเล่นต่างๆก็จะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและจุดขายที่แต่ ละค่ายออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานที่แตกต่างกันออกไป แต่หลักๆแล้วที่เหมือนกันคือเพื่อบันทึกภาพ และกล้องวีดีโอที่เรียกว่า "โฮมยูส" หรือแบบ "แฮนดี้แคม" จะเหมาะสำหรับผู้เริ่มใช้ การควบคุมและการสั่งการต่างๆจะออกแบบมาให้ใช้ง่าย ไม่ซับซ้อน 
เทคนิคการเลือกซื้อกล้องวิดีโอ
1.ประมาณค่างบประมาณในการซื้อ
2.วัตถุประสงค์ของการใช้งาน เลือกกล้องให้ตรงกับงานที่ต้องการใช้  เช่น ใช้แบบพกพา ถ่ายได้ทุกที่ ทุกเวลา , ถ่ายกลางแดดธรรมดา หรือในที่มืด หรือถ่ายใต้น้ำ , ถ่ายเพื่อลงYoutube หรือ ถ่ายไว้ดูเล่น , ถ่ายแบบง่ายๆ หรือถ่ายแบบนักทำหนังมืออาชีพ
3.ดูค่าความละเอียด  ปัจจุบันนิยมใช้กล้องถ่ายวิดีโอแบบดิจิตอลมีทั้งแบบ SD (standard definition) และแบบ HD (high definition) สำหรับแบบ SD ราคาจะถูกกว่าแบบHD เพราะเหมาะสำหรับการถ่ายวิดีโอธรรมดาสำหรับดูด้วยคอมพิวเตอร์หรือทีวีแบบธรรมดา แต่สำหรับกล้องถ่ายดิจิตอลแบบ HD นั้นจะบันทึกภาพได้ด้วยความละเอียดที่สูงกว่าเพื่อแสดงบน HDTV ได้อย่างคมชัด ละเอียด สมจริง 
4.เลือกรูปแบบการจัดเก็บภาพและเสียง มีการบันทึกเสียงที่ชัดเจน สามารถปิดเสียงโดยรอบได้ ขณะบันทึกช่องของเสียงและการเคลื่อนไหวของภาพ ตรงกัน และชัดเจน เก็บเสียงได้โดยรอบ
5.ความสามารถพิเศษของกล้อง ความสามารถพิเศษที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของรุ่นเพื่อแยกความแตกต่าง ทำให้ราคาของกล้องต่างกันมีดังนี้
1. Optical zoom : เพื่อให้ขยายภาพได้อย่างชัดเจน ขนาดการซูมจึงสำคัญ กล้องบางรุ่นซูมได้ถึง 48x
2. Image Stabilization : ช่วยป้องกันภาพสั่น จากการถือกล้องสั่น โดยเฉพาะในขณะซูมภาพระยะไกล
3. Photo Feature : บางรุ่นสามารถใช้กล้องถ่ายภาพนิ่ง และสามารถปรับการถ่ายภาพนิ่งแบบต่างๆ ได้
4. Audio Recording : กล้องถ่ายวิดีโอบางรุ่น เพิ่มความสมจริงให้กับระบบการอัดเสียง ด้วยระบบการอัดแบบ  Dolby Digital surround 5.1 ที่ให้คุณเปิดเสียงฟังจากชุดโฮมเธียร์เตอร์ของคุณได้อย่างสมจริง

ที่มา : http://www.vdolearning.com/vdotutor/video-knowledge/91-video-camera-knowledge

การใส่ข้อความและการบันทึกลงในวีดีโอ

การใส่ข้อความและการบันทึกลงในวีดีโอ
การใส่ข้อความ เราสามารถที่จะใส่ข้อความลงบนวีดีโอได้ด้วย การใส่ก็เช่นเดียวกับใส่ข้อความธรรมดาที่ได้พูดไปแล้วตอนที่แล้ว ให้คลิกที่วีดีโอช่วงที่จะใส่ แล้วคลิก Make Title or cradits เลือกแบบที่ต้องการ
  • title at the beginning ใส่ตอนเริ่มวีดีโอ
  • title before the selected clip ใส่ก่อนหน้ารูปที่เลือก
  • title on the selected clip ใส่บนรูปที่เลือก
  • title after the selected clip ใส่หลังรูปที่เลือก
  • cradits at the end ใส่ Cradit ตอนจบวีดีโอ 
พิมพ์ข้อความ เลือก Animation โดยคลิกที่ Change the title animation เปลี่ยนสีข้อความแบบอักษรโดยคลิกที่ Change the text font and color ข้อความที่แทรกมาจะอยู่บนแถบ Title Overlay บน Timeline เราสามารถที่จะเลื่อนข้อความไปในตำแหน่งที่ต้องการ สามารถลดหรือขยายเวลาในการแสดงข้อความได้ โดยการนำเม้าส์ไปคลิกที่แถบข้อความนั้น ลากออกหรือเข้าเพื่อลดหรือขยายเวลาบนแถบตัวอักษร
เราสามารถที่จะแทรกข้อความได้ทุกช่วงของวีดีโอ และสามารถเลื่อนข้อความต่างๆ ไปในตำแหน่งที่เราต้องการได้
นอกจากนี้ตอนเริ่มและสิ้นสุดของวีดีโอ เราสามารถที่จะเลือก Fade In หรือ Fade Out เพื่อให้วีดีโอค่อยๆ Fade มา หรือ ค่อยๆ Fade หายไป นอกจากนี้ยังสามารถเลือกใส่ video effect ในแต่ละช่วงของวีดีโอได้
จากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นการทำวีดีโอแล้วบันทึกงานตามปกติ ไฟล์ที่ได้จะเป็นนามสกุล .MSWMM และการแปลงไฟล์เป็นไฟล์วีดีโอ ให้คลิกที่ Save to my computer
ตั้งชื่อและเลือกที่เก็บวีดีโอ จากนั้นคลิก Next (เอาภาพตอนที่แล้วมาเพื่อให้เห็นภาพ)
เลือกคุณภาพของวีดีโอ หากต้องการตัวเลือกอื่นๆ เพิ่มเติมคลิกที่ Shoe more choices
จะมีตัวเลือกให้เลือกเพิ่มเติม ซึ่งจะเลือกเป็นแบบกำหนดขนาดที่แน่นอนก็ได้โดยเลือกแบบ fit size หรือตัวเลือกอื่นๆ เสร็จแล้้วคลิก Next
จะทำการ Save รอสักครู่
เสร้จแล้วคลิกที่ Finish เป็นอันเสร็จ หากไม่ต้องการให้เล่นวีดีโอ ให้เอาเครื่องหมายถูกที่ Play movie when I click Finish. ออก ไฟล์วีดีโอที่ได้จะเป็นนามสกุล .wmv

ที่มา : http://bombik.com/node/247

การตัดต่อวีดีโอ

การตัดต่อวีดีโอ

ตัดต่อวีดีโอง่ายๆ ด้วย Windows Movie Maker

ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนแรกเปิดโปรแกรม Windows Movie Maker
คลิกที่ Import video เลือกวีดีโอที่ต้องการ และคลิก Import
เมื่อคลิก Import แล้วรอสักครู่โปรแกรมกำลัง Import ไฟล์เข้ามา
หากเราเลือกมาหลายไฟล์ใน Collection จะแสดงเพียงแค่ไฟล์เดียว หากต้องการใช้ไฟล์อื่นให้คลิกด้านบน เพื่อเลือกไฟล์อื่นๆ
ในการตัดต่อวีดีโอ ให้ใช้มุมมองแบบ Timeline จากนั้นลากไฟล์วีดีโอลงมาใส่ใน Timeline
หากไฟล์วีดีโอใดเป็นนามสกุล .mpg บางครั้งในโปรแกรมจะตัดเป็นไฟล์ย่อยๆ ให้คลิกเลือกไฟล์ตามชื่อไฟล์และลากลงมาเรียงกันด้านล่างตามลำดับ
ระหว่างไฟล์แต่ละไฟล์จะมีส่วนที่ต่อกันแยกเป็นไฟล์ๆ
หากเรามองในมุมมองแบบ Storyboard เราจะเห็นไฟล์แต่ละไฟล์แยกกันอยู่ และระหว่างไฟล์แต่ละไฟล์เราสามารถที่จะใส่ Transition หรือรูปแบบการเปลี่ยนภาพได้ด้วย
การใส่ Transition ก็คลิกที่ View video transitions เลือก Transition และลากไปใส่
กลับมาที่มุมมองแบบ Timeline เราจะทำการตัดบางส่วนของวีดีโอที่เราไม่ต้องการออก เราจะต้องเพิ่มมุมมองให้มากขึ้นเพื่อให้สะดวกในการตัดบางส่วนของวีดีโอ ให้คลิกที่แว่นขยายที่มีเครื่องหมาย + เราจะได้มุมมองที่กว้างขึ้นใน Timeline
 
ขั้นตอนการตัดคือ เมื่อวีดีโอไปถึงช่วงที่เราต้องการตัด หยุดวีดีโอไว้ ให้เส้นบอกเวลา(ขีดสีฟ้าๆ)หยุดตรงจุดเริ่มที่เราต้องการตัดออก(สามารถเลื่อนได้โดยการคลิกเม้าส์หรือคลิกลากไป) เมื่อเส้นบอกเวลาอยู่ในจุดที่เราต้องการแล้ว ให้กดปุ่ม Ctrl และตัว L เพื่อตัดวีดีโอช่วงนั้น
เมื่อกดปุ่ม Ctrl และตัว L แล้ว วีดีโอจะถูกแบ่งออก จากนั้นเลื่อนเส้นบอกเวลาไปที่จุดสิ้นสุดที่เราต้องการตัด และกดปุ่ม Ctrl และตัว L
 
จะได้ช่วงวีดีโอที่เราต้องการตัดออก เอาเม้าส์คลิกที่ช่วงนั้นและกดปุ่ม Delete
วีดีโอส่วนนั้นก็จะถูกตัดออกไป จากนั้นก็ทำเช่นเดียวกันนี้กับส่วนอื่นๆ ที่เราต้องการตัด
หากเรากลับมาดูในมุมมอง Storyboard วีดีโอที่ถูกแบ่งแยกออกจากกัน สามารถที่จะแทรก Transition ลงไประหว่างวีดีโอได้ ในกรณีที่ไม่ได้ต้องการตัดวีดีโอออก แต่ต้องการแทรก Transition หรือ video effect เฉพาะช่วงใดช่วงหนึ่ง สามารถใช้เทคนิคการตัดวีดีโอออกจากกันเพื่อใส่ Transition หรือ video effect ในช่วงที่เราต้องการได้

ที่มา : http://bombik.com/node/247

ขยะรีไซเคิล

             ขยะรีไซเคิล คือ

ขยะรีไซเคิล หมายถึง ขยะ ของเสีย หรือวัสดุเหลือใช้ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ โดยนำมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต เช่น แก้ว กระดาษ กระป๋องเครื่องดื่ม เศษพลาสติก เศษโลหะ เป็นต้น
      ขยะรีไซเคิล มีปริมาณ 42% ของขยะทั้งหมดทุกประเภท ขยะพวกนี้มีประโยชน์หลายซ้ำหลายซ้อน เพระสามารถนำไปผลิตใช้ใหม่ได้ไม่รู้จบ ขวดน้ำที่เราใช้กันทุกวันนี้อาจจะรียูสมากี่รอบต่อกี่รอบแล้วก็ไม่รู้ แต่พูดแบบนี้ไม่ใช่ว่าไม่สะอาดนะ กระบวนการผลิตมันต้องสะอาดอยู่แล้ว แล้วขยะพวกนี้เวลาเอามาขายมาซื้อกัน ก็มีราคาแตกต่างกันด้วยนะ สมมติว่า เรามีกองกระดาษเยอะๆแล้วจะขาย กระดาษที่เป็นสีขาวๆนี้เค้าคิดกิโลละ 2 บาท แต่ถ้ามีปกมีอะไรด้วยมันจะกลายเป็นกระดาษรวม มูลค่ากิโลละ 50 สตางค์แค่นั้น เพราะฉะนั้นถ้าเราฉลาดหน่อย ก็คัดแยกออกจากกันซะ แล้วขายแยก แล้วส่วนพวกกระป๋องแป๋งน้ำ ขวดใสๆเช่นพวกขวดน้ำแร่ ขายได้กิโลละ 50 สตางค์เหมือนกัน ส่วนพวกขวดขุ่น ขายได้กิโลละ 1-2 บาท เพราะว่ามันยังไม่ได้ถูกรีไซเคิล ส่วนไอ้พวกใสๆที่ผ่านการรีไซเคิลแล้วก็จะมีราคาถูกลงมาอีก
ซึ่งขยะพวกนี้จะมีการจัดการที่แตกต่างกัน โดยสามารถแยกเป็นประเภทได้ ดังนี้
       1. ประเภทของพลาสติก ขยะประเภทพลาสติกมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะสินค้าและบรรจุภัณฑ์ส่วนมากทำมาจากพลาสติก เช่น ขวดนม กระป๋องยา ขวดน้ำดื่ม ซึ่งคุณสมบัติที่เหมาะสมของพลาสติกซึ่งมีน้ำหนักเบา สีสันสวยงามไม่เป็นสนิม ทนทานและมีหลายประเภททำให้พลาสติกเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งขยะพวกนี้เมื่อนำมาเผาก็จะทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม หรือหากนำไปผงกลบ ก็จะทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการฝังกลบ วิธีการที่ดีและเหมาะสมสำหรับการกำจัดขยะพลาสติก ก็คือ การนำกลับมารีไซเคิล พลาสติกสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้เกือบทุกประเภท ส่วนพลาสติกที่ไม่สามารถกลับมารีไซเคิลได้ ได้แก่ พลาสติกชนิดยูเรีย เมลามีน และอีพอกซี่
ถึงแม้ว่าพลาสติกสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้แต่ในประเทศยังไมได้มีการนำเอาพลาสติกกลับมารีไซเคิลทุกประเภทเพราะปัญหาในเรื่องการคุ้มทุนในการลงทุน เนื่องจากพลาสติกมีน้ำหนักเบาและเก็บรวบรวมได้อยาก เช่น ถุงพลาสติกและ โฟม สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้แต่ต้นทุนสูงเนื่องมาจากมีปริมาณมากเปลืองพื้นที่ในการขนส่งทำให้ต้นทุนสูง
           พลาสติกที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ มีดังนี้
   - โพลีโพรพิลีน นิยมนำมาใช้เป็นถ้วยนมเปรี้ยว กระป๋องมันฝรั่งทอด และกล่องเนยเทียม
   - โพลีสไตรีน นิยมนำมาเป็นพาชนะแทนโฟม ถาดสลัด กล่องบรรจุวีดีโอ และซีดี
   - โพลีเอททิลีน พลาสติกชนิดนี้นำมาทำขวดเครื่องดื่ม หรือขวดน้ำมันพืช
   - โพลิไวนิลคลอไรด์ ใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร หรือขวดน้ำมันพืชบางชนิด
   - พลาสติกอื่นๆ เช่นพลาสติกผสม นิยมนำมาทำบรรจุภัณฑ์ที่มีสีดำ เช่น กะละมัง
การคัดแยกพลาสติก เพื่อนำมารีไซเคิล ควรมีการจัดการ ดังนี้
   - ล้างสิ่งปนเปื้อนออก ดึงฉลากและสิ่งต่างๆ ที่ติกกับพลาสติกออกให้หมด
   - ทำให้แบนเพื่อประหยัดเนื้อที่
   - คัดแยกพลาสติกตามประเภท สามารถแยกประเภทของพลาสติกได้จากเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑ์ ในกรณีที่ผู้ผลิตทำเครื่องหมายรีไซเคิลพร้อมทั้งตัวเลขระบุประเภทของพลาสติกไว้ หรือทดสอบโดยการช้ำหรือเผาไฟ
           2. ประเภทกระดาษ ขยะจากบ้านเรือนและสำนักงานจะมีกระดาษเป็นองค์ประกอบที่สำคัญเนื่องจากในชีวิตประจำวันของเรา จะต้องเกี่ยวพันกับการใช้กระดาษ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ กระดาษคอมพิวเตอร์ ถุงกระดาษ ลังกระดาษ เป็นต้น กระดาษเหล่านี้ส่วนใหญ่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ยกเว้นกระดาษบางประเภท เช่น กระดาษฟอยส์ห่อของขวัญ กระดาษเคลือบพลาสติก เนื่องจากกระดาษประเภทนี้ มีเซลลูโลสน้อยมากไม่เหมาะแก่การนำมารีไซเคิลอีก ในประเทศไทยสามารถนำกล่องนมกลับมารีไซเคิลได้แล้ว โดยกรุงเทพมหานครได้มีการสร้างโรงงานรีไซเคิลกล่องนมโดยเปิดดำเนินการเดือนธันวาคม 2543
       การจัดการกระดาษ เพื่อนำมารีไซเคิล ก่อนที่จะนำกระดาษมารีไซเคิล ควรมีการแยกประเภทของกระดาษก่อน ดังนี้
- ประเภทกล่องนมยูเอชที
- ประเภทกระดาษ ถุงปูน
- ประเภทกระดาษย่อยขยะ และย่อยสลาย
- ประเภทกระดาษสี กระดาษกล่องรองเท้า
- ประเภทกระดาษหนังสือพิมพ์
- ประเภทกระดาษแข็งกล่องน้ำตาล
- ประเภทกระดาษขาวดำ
- ประเภทกระดาษสมุด
- ประเภทกระดาษปอนด์ขาว
การรีไซเคิลกระดาษ กระดาษที่รับซ้อมาจากบ้านเรือนหรือแหล่งต่างๆ จะถูกส่งไปยังโรงงานกระดาษเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผสมในการผลิตกระดาษประเภทต่างๆ กระดามีหลายชนิดและหลายคุณภาพ โดยกระดาษขาวสำหรับเขียนหรือกระดาษคอมพิวเตอร์จะเป็นกระดาษที่มีคุณภาพสูงถูกนำมาแปรรูปเป็นกระดาษสมุดและหนังสือ ส่วนกระดาษหนังสือพิมพ์และกระดาษกล่องจะมีคุณภาพต่ำและถูกนำมาแปรรูปเป็นกระดาษบรรจุเครื่องดื่ม กระดาษห่อของขวัญ กล่องกระดาษแข็งเป็นต้น
            3. ประเภทแก้ว แก้วเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากทรายโดยมีหินและโซดาไฟเป็นส่วนผสม โดยนำมาหลอมให้ขึ้นรูปเป็นภาชนะต่างๆ เช่นแก้วน้ำ ขวดอาหารและเครื่องดื่ม แก้วเป็นวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ แต่สามารถหลอมทำใหม่ได้
ขวดแก้วทุกประเภทสามารถนำมารีไซเคิลได้ แต่ขวดแก้วต่างประเภทต่างสีจะมีราคาต่างกัน ดังนั้นขวดแก้วสีขาวจะมีราคาดีที่สุด รองลงมา คือ สีชา และสีเขียว ถ้าเป็นลักษณะที่ขวดไม่แตกจะได้ราคาสูงกว่าขวดแตกหรือเศษแก้ว ดังนั้นจึงมีการคัดแยกออกตามสีและคุณภาพของแก้ว ดังนี้
- ขวดแก้วดี คัดแยกตามประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่บริษัทผู้ผลิตสินค้ารับซื้อคืน เมื่อนำไปทำความสะอาด แล้วนำมาบรรจุสินค้าใหม่อีกครั้ง เช่น ขวดเบียร์ช้าง ขวดแบล็คแคท ขวดไฮนีเก้น เป็นต้น ส่วนขวดแก้วที่ไม่ได้รับซื้อตามประเภทของบรรจุภัณฑ์จะคัดแยกตามประเภทของสีแก้ว คือ สีขาวใส สีชา และสีเขียว
- ขวดแก้วแตก ขวดแก้วที่แตกหักชำรุดเสียหายจะถูกนำมาคัดแยกสี คือ ขวดแก้ว ขวด ขวดแก้วสีชา ขวดแก้วสีเขียว เมื่อแยกสีแล้วจะถูกส่งไปเข้าโรงงานหลอมแก้ว เมื่อทุบให้แตกละเอียดแล้วล้างด้วยสารเคมี และหลอมละลายเพื่อเป่าให้เป็นขวดใหม่
           4. ประเภทโลหะ โลหะหลากหลายชนิดเราสามารถนำกลับมารีไซเคิลโดยการนำมาหลอมและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ สามารถแบ่งโลหะ ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
    - โลหะประเภทเหล็ก เหล็กสามารถนำมารีไซเคิลได้แทบทุกชนิด สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. เหล็กหล่อ 2. เหล็กหนา 3.เหล็กบาง เศษเหล็กที่รวบรวมได้พ่อค้ารับซื้อของเก่าจะทำการตัดเหล็กตามขนาดต่างๆตามที่โรวงงานกำหนดเพื่อสะดวกในการเข้าเตาหลอมและการขนส่ง
    - โลหะประเภททองเหลือง ทองแดง และสแตรนเลส โดยทองเหลืองสามารถนำกลับมาหลอมใหม่โดยทำเป็นพระพุทธรูป ระฆัง อุปกรณ์สุขภัณฑ์ ส่วนทองแดงสามารถนำกลับมาหลอมเป็นสายไฟ ได้
           5. ประเภทขยะอลูมิเนียม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
   - อะลูมิเนียมหนา เช่น อะไหล่เครื่องยนต์ ลูกสูบอะลูมิเนียมอัลลอยย์
   - อะลูมิเนียมบาง เช่น หม้อ กะละมัง ขันน้ำ กระป๋องเครื่องดื่ม
ขยะอลูมิเนียมประเภทกระป๋องน้ำอัดลมเป็นขยะที่มีปริมาณมากก่อนที่จะนำไปขายควรอัดกระป๋องให้มีปริมาณเลกลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการขนส่ง สำหรับการรีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียมนั้นพ่อค้ารับซื้อของเก่าจะทำการอัดกระป๋องให้มีขนาดตามที่โรงงานกำหนด กระป๋องอลูมิเนียมสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้หลายๆครั้งไม่จำกัดจำนวนครั้งของการผลิต เมื่อกระป๋องอลูมิเนียมถูกส่งเข้าโรงงานแล้วจะถูกบดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วหลอมให้เป็นแท่งแข็ง จากนั้นนำไปรีดให้เป็นแผ่นบาง เพื่อส่งต่อไปยังโรงงานผลิตกระป๋อง เพื่อผลิตกระป๋องใหม่
ปัจจัยสำคัญในการรีไซเคิลวัสดุประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโลหะ พลาสติก กระดาษ แก้ว ต้องมีการแยกประเภทของขยะรีไซเคิลแต่ละชนิดออกจากกันไม่ให้ปนกัน และมีการทำความสะอาดก่อนนำไปขาย ถ้าเป็นกระป๋องก็ควรที่จะอัดเพื่อลดปริมาตรก่อน

ที่มา : สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 กระทรวงทรัพยากร